Sponsor Advertisement

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถยนต์ (ตอน2)

ต่อจากตอนที่แล้ว

ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (Bore x Stroke) คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบ คูณด้วยระยะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นสุดและเลื่อนลงสุด หรือที่รัยกว่า ‘ระยะชัก’ ซึ่งข้อมูล 2 ตัวนี้จะเอาไปใช้เพื่อคำนวณหาความจุของเครื่องยนต์ต่อไป



ขนาดความจุ (Displacement) คือ ปริมาตรกระบอกสูบของเครื่องยนต์ หามาจากพื้นที่หน้าตัดของกระบอกสูบ (πr^2) คูณด้วยระยะชัก (L) หน่วยที่ใช้จะเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร หรือที่เรียกกันติดปากว่า ‘ซี.ซี.’ ปริมาตรกระบอกสูบจะส่งผลต่อกำลังที่เครื่องยนต์สามารถผลิตได้โดยตรง

อัตราส่วนกำลังอัด (Compression Ratio) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างลูกสูบเมื่อเคลื่อนที่ลงสุด (อยู่ที่ศูนย์ตายล่าง : BDC-Bottom Dead Center) กับลูกสูบเมื่อเคลื่อนที่ขึ้นสุด (อยู่ที่ศูนย์ตายบน : TDC-Top Dead Center) ยกตัวอย่างเช่น ในจังหวะดูด เมื่อลูกสูบเลื่อนลงดูดอากาศจนถึงศูนย์ตายล่าง ซึ่งจะมีปริมาตรมากที่สุด สมมติว่ามีอยู่ 10 ส่วน ต่อมาในจังหวะอัด ลูกสูบเลื่อนขึ้นอัดไอดีจนถึงศูนย์ตายบนเหลืออากาศเพียง 1 ส่วน เครื่องยนต์ก็จะมีอัตราส่วนกำลังอัด 10:1 เป็นต้น

กำลังสูงสุด (Maximum Power) หมายถึง กำลังงานสูงสุดที่ เครื่องยนต์สามารถผลิตออกมาได้ หน่วยที่เป็นมาตรฐาน คือ kW (กิโลวัตต์) แต่หน่วยที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อนิยมใช้คือ ‘PS’ (ย่อมาจาก Pferdestarke เป็นภาษาเยอรมันในภาษาอังกฤษหมายถึง Horsepower นั่นเอง) ซึ่ง 1 kW = 0.7355 PS


แรงบิดสูงสุด (Maximum Torque) หมายถึง ความสามารถของเครื่องยนต์ที่จะนำกำลังจากการจุดระเบิดมาสร้างแรงเพื่อหมุนเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) หน่วยของแรงบิดคือ Nm (นิวตัน-เมตร) และ kg-m (กิโลกรัม-เมตร) โดย 1 Nm = 9.80665 kg-m


...อ่านต่อ ตอนหน้านะครับ....
Share on Google Plus

About Surapong Suksang

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น: