PARACHUTING / SKYDIVING
กีฬาโดดร่ม เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งสมาคมและชมรมกระโดดร่มขึ้นมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาแล้วเช่นประเทศในทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป หรือแม้แต่ในทวีปเอเชียของเรา
กีฬาโดดร่ม ก็เช่นเดียวกับกีฬาทางอากาศอื่น ๆ ที่มีการเปิดรับฝึกกันอยู่ทั่วไปในขณะนี้ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา กีฬาโดดร่มจะเป็นที่รู้จักกันอยู่ในวงแคบ ๆ ในเฉพาะกลุ่มข้าราชการทหารและตำรวจ แต่ในปัจจุบันได้เริ่มมีการฝึกโดดร่มกันในภาคเอกชนบ้างแล้ว โดยมีการเปิดสนามโดดร่มขึ้นเพื่อการกีฬาและรับฝึกการโดดร่มให้แก่ผู้ที่สนใจ หากท่านสนใจจะขอแนะนำสนามฝึกโดดร่มเอกชนที่ใกล้และสะดวกที่สุดจาก กทม.คือสนามฝึกโดดร่ม เคเค (KK) ตั้งอยู่ในบริเวณสนามบิน เคเค ซึ่งเป็นสนามบินของเอกชน อยู่บริเวณ บ้านตลุงเหนือ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสนามบินเอกชนที่มีบริเวณกว้างถึง ๗๐๐ ไร่ ทำให้มีความปลอดภัยต่อการฝึกโดดร่มของนักเรียนใหม่ค่อนข้างสูง การเดินทางไปสนามบินนี้ เริ่มต้นจากวงเวียนหอนาฬิกา อ.อู่ทอง จะเห็นป้ายบอกทางไปสนามบิน KK ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร สามารถสอบถามเส้นทางจากผู้คนแถว ๆ หอนาฬิกา หรือประชาชนในพื้นที่ได้ สนามโดดร่มแห่งนี้คาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป จะเปิดให้บริการฝึกสอนเกี่ยวกับกีฬา เจ็ตสกี ร่มบิน อากาศยานเบาแบบอุลตร้าไลท์ ไมโครไลท์ และอื่น ๆ รวมทั้งกีฬาโดดร่ม และในอนาคตอันใกล้นี้มีการเปิดฝึกการโดดร่มในร่ม (Indoor Skydiving) จากอุโมงค์ลมทางดิ่ง (Vertical wind tunnel) ซึ่งจะเป็นอุโมงค์ลมทางดิ่งมาตรฐานเครื่องแรกในประเทศไทย เครื่องช่วยฝึกนี้จะทำให้การฝึกกีฬาโดดร่มกระทำได้ง่ายและปลอดภัยสูงสุด
ยังมีสนามโดดร่มที่เปิดฝึกสอนการโดดร่มในภาคเอกชนที่น่าสนใจอยู่อีกหลายสนาม ไม่ว่าจะเป็นสนามโดดร่มของกองทัพอากาศที่บริเวณสนามบินกองบิน ๕ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่กำลังจะเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนั้นก็มีที่สนามบินเล็กพัทยา, สนามโดดร่มมุกดาหาร และอีกหลาย ๆ ที่ที่กำลังเปิดฝึกกันอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะที่สนามกีฬาทางอากาศ จ.สระบุรี แถว ๆ พระพุทธฉาย อยูในความรับผิดชอบของมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชานุเคราะห์ที่สมาคมกีฬาทางอากาศแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ มีกำหนดจะเปิดประมาณต้นปี ๒๕๕๑ ขณะนี้สนามบิน ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการเพิ่มเติมสิ่ง อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทางอากาศอีกเล็กน้อย
หลักปฏิบัติสำหรับนักโดดทั่วไปที่โดดร่มเป็นแล้ว เมื่อไปถึงบริเวณสนามโดดร่มแล้ว ก่อนอื่นจะต้องไปติดต่อที่เจ้าหน้าที่ทะเบียน(Register) เพื่อลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกสนามโดดร่ม แสดงหลักฐานการโดดเช่นใบอนุญาตนักโดดร่ม (License) หรือหากยังไม่มีใบอนุญาตโดดร่ม อย่างน้อยจะต้องมีสมุดบันทึกการโดด(Log Book) ซึ่งมันจะบอกประวัติการโดดและความสามารถในการโดดร่มแบบเหินเวหาของเราได้ หาก ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่จะบ่งบอกว่าท่านเป็นใคร โดดมาแล้วกี่ครั้ง ความสามารถเป็นอย่างไร เพียงแค่แบกร่มเข้ามาสนามโดดแล้วมาขอโดดร่มแล้วใครเขาจะให้ท่านขึ้นไปโดดกับ เครื่องบินของเขาล่ะครับ ดังนั้นหากท่านไม่มีหลักฐานการโดดต่าง ๆ ท่านจะต้องได้รับการตรวจสอบตามวิธีการต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่นิรภัยสนามโดดซึ่งรับรองว่าท่านไม่มีทางหลอกเขาได้แน่ แต่ขั้นตอนนี้ท่านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแน่ ๆ ตั้งแต่การสัมภาษณ์ ไปจนถึงการตรวจสอบด้วยการโดดแบบเร่งรัด (AFF) ระดับ ๑ ซึ่ง ต้องจ่ายแน่ ๆ ทั้งค่าฝึกอบรมและค่าขึ้นโดดตามรายการค่าใช้จ่ายแนบท้าย ดังนั้นเพื่อไม่ต้องเสียอารมณ์ควรจะต้องนำใบอนุญาตโดดร่มหรือสมุดบันทึกการ โดดติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่มีการโดดไม่ว่าที่ไหนในโลก เหมือนกันหมด หลังจากนั้นเมื่อได้ยืนยันสถานภาพบุคคลแล้วก็จะต้องให้เจ้าหน้าที่นิรภัยสนามโดดได้ตรวจสถานภาพของอุปกรณ์การโดดที่เราจะนำมาใช้ในการโดด โดยเฉพาะร่มสำรอง(ร่มช่วย) จะต้องมีประวัติการพับใน Reserve Data Card โดยมีอายุการพับเก็บไม่เกิน ๑๒๐ วัน และได้รับการพับโดยเจ้าหน้าที่พับร่มที่ได้รับใบอนุญาต (FAA Rigger) หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตและลงชื่อรับรองการพับมิเช่นนั้นจะต้องนำมารื้อพับใหม่โดยเจ้าหน้าที่ของสนามโดด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ด้วยเหตุผลแห่งความปลอดภัย สุดท้ายก็ต้องไปทำสัญญาและลงชื่อในสัญญายินยอม ยอมรับในเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรณีการเกิดอุบัติเหตุที่อาจมีขึ้น (ขั้นตอนทั้งหมดเหล่านี้จะดำเนิน การเฉพาะผู้ที่มาใช้บริการสนามโดดในครั้งแรกเท่านั้น เพราะข้อมูลต่าง ๆ ของท่านจะถูกบันทึกเข้าแฟ้มข้อมูลสมาชิก มาวันไหนก็ซื้อตั๋วโดดได้ทันที) จากนั้นก็ไปซื้อตั๋วโดยสารเพื่อขึ้นโดดที่เจ้าหน้าที่จัดโดด (Manifest officer) ราคาค่าตั๋วขึ้นโดดครั้งละประมาณ ๖๐๐ – ๑,๐๐๐.- บาทขึ้นอยู่กับความสูงที่ต้องการตั้งแต่ ๔,๐๐๐ -๑๒,๐๐๐ ฟุต โดย จะต้องแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่จัดโดดเพื่อจัดคิวให้ และในกรณีที่ไปโดดกันหลายคนก็อาจแต่งร่มขึ้นโดดได้ทันทีโดยไม่ต้องไปเสีย เวลานั่งคอยนักโดดอื่น ๆ ให้เต็มเครื่อง (๕ คน)
สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครเข้ารับการฝึกโดดร่ม
คุณสมบัติพึงประสงค์
1. อายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ไม่จำกัดเพศ
2. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ และมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการเป็นนักกีฬาโดดร่ม
เลือกรูปแบบการฝึกโดดร่มตามความต้องการ
วิธีการฝึกโดดร่มที่มีให้บริการมี ๒ ประเภทคือ
1. การฝึกโดดร่มแบบแขวนคู่ (TANDEM)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะฝึกโดดร่มแบบน็อคดาวน์ หรือเพียงเพื่อหาประสบการณ์จากการโดดร่มเหินเวหาเพียงครั้งเดียวพอ การฝึกแบบแขวนคู่นี้จะให้ความรู้สึกถึงการเป็นนักโดดร่มเหินวหา จะกระโดดลงมาโดยถูกแขวนติดกับครูฝึกจากความสูง ๑๐,๐๐๐ – ๑๒,๐๐๐ ฟุต ลอยลงมาประมาณ ๔๐ - ๖๐ วินาทีแล้วครูฝึกก็จะเปิดร่มให้กางออกและบังคับร่มให้ร่อนกลับมายังสนามโดด โดยที่เราจะยังคงถูกแขวนคู่กับครูทางด้านหน้าอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งลงพื้น การปฏิบัติทุกขั้นตอน ครูฝึกจะเป็นผู้กระทำให้ทั้งสิ้น
2. การฝึกโดดร่มแบบเร่งรัด (AFF)
วิธีการฝึกโดดร่มที่มีให้บริการมี ๒ ประเภทคือ
1. การฝึกโดดร่มแบบแขวนคู่ (TANDEM)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะฝึกโดดร่มแบบน็อคดาวน์ หรือเพียงเพื่อหาประสบการณ์จากการโดดร่มเหินเวหาเพียงครั้งเดียวพอ การฝึกแบบแขวนคู่นี้จะให้ความรู้สึกถึงการเป็นนักโดดร่มเหินวหา จะกระโดดลงมาโดยถูกแขวนติดกับครูฝึกจากความสูง ๑๐,๐๐๐ – ๑๒,๐๐๐ ฟุต ลอยลงมาประมาณ ๔๐ - ๖๐ วินาทีแล้วครูฝึกก็จะเปิดร่มให้กางออกและบังคับร่มให้ร่อนกลับมายังสนามโดด โดยที่เราจะยังคงถูกแขวนคู่กับครูทางด้านหน้าอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งลงพื้น การปฏิบัติทุกขั้นตอน ครูฝึกจะเป็นผู้กระทำให้ทั้งสิ้น
2. การฝึกโดดร่มแบบเร่งรัด (AFF)
เป็นการฝึกเพื่อสอนให้ท่านเป็นนักโดดร่มเหินเวหาได้จริง ๆ โดยใช้เวลาในการอบรมและฝึกภาคพื้น
ประมาณ (อย่างน้อย) ๒๔ ชั่วโมง และต่อด้วยการขึ้นโดดจากอากาศยานจริง อีก ๗ ครั้ง ท่านก็จะได้เป็นนักกีฬาโดดร่มเหินเวหาที่กระโดดได้จริง ๆ และหากได้มีโอกาสฝึกเพิ่มเติมทักษะประสบการณ์กับครูฝึกอีกเล็กน้อย ท่านก็สามารถแบกร่มไปร่วมโดดกับใครก็ได้ทั่วประเทศ และหากได้ฝึกต่อเนื่องกระทั่งมีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดขั้นพื้นฐาน เช่นมีเที่ยวโดดครบ ๒๕ ครั้ง ลงที่หมายในบริเวณเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๕๐ เมตร ฯลฯ ท่านก็จะมีสิทธิ์ขอสอบรับใบอนุญาตนักโดดร่มสากลระดับพื้นฐาน (USPA Basic: A License) ทีนี้ท่านก็จะแบกร่มคู่ใจไปโดดที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่เขามีสนามฝึกโดดร่ม
การกระโดดร่มคืออะไร [Parachute jumping]
ประมาณ (อย่างน้อย) ๒๔ ชั่วโมง และต่อด้วยการขึ้นโดดจากอากาศยานจริง อีก ๗ ครั้ง ท่านก็จะได้เป็นนักกีฬาโดดร่มเหินเวหาที่กระโดดได้จริง ๆ และหากได้มีโอกาสฝึกเพิ่มเติมทักษะประสบการณ์กับครูฝึกอีกเล็กน้อย ท่านก็สามารถแบกร่มไปร่วมโดดกับใครก็ได้ทั่วประเทศ และหากได้ฝึกต่อเนื่องกระทั่งมีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดขั้นพื้นฐาน เช่นมีเที่ยวโดดครบ ๒๕ ครั้ง ลงที่หมายในบริเวณเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๕๐ เมตร ฯลฯ ท่านก็จะมีสิทธิ์ขอสอบรับใบอนุญาตนักโดดร่มสากลระดับพื้นฐาน (USPA Basic: A License) ทีนี้ท่านก็จะแบกร่มคู่ใจไปโดดที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่เขามีสนามฝึกโดดร่ม
การกระโดดร่มคืออะไร [Parachute jumping]
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น