Sponsor Advertisement

ช่างซ่อม หรือ ช่างเปลี่ยน_?






จับประเด็นจากนายประโยชน์ จากรายการ ออโต้เซอร์วิส พุธ 27 มิถุนายน 2555
คำถามจากคนใช้รถ น่าจะรุ่นเก๋า บ่นมาว่าสมัยนี้ช่างตามศูนย์และ อู่ทั่วๆไป ไม่ใช่ช่างซ่อมแล้ว น่าจะเรียกว่า เป็นช่างเปลี่ยน

นายประโยชน์เลยอธิบายต่อว่า

เพราะว่าเทคโนโลยี ในยุคนายประโยชน์มันต่างกัน
เพราะเครื่องยนต์สมัยก่อนเป็นยุคกลไก เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็มีการสึกหรอของกลไกเป็นธรรมดา

ช่างสมัยก่อนมักจะใช้คำว่า สั้นก็ต่อ ยาวก็ตัด หรือ คว้าน กลึง เจียร์
เครื่องยนต์ มีส่วนประกอบเช่น คาร์บูเรเตอร์ู หัวเทียน จานจ่าย ทองขาว คอนเดนเซอร์
ซึ่งเวลาเสียก็ แกะออกมา ขัด ฝน แก้ไขก็ใช้งานได้ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ+ฝีมือ ของตัวช่างเป็นสำคัญ
และในสมัยปัจจุบัน ที่ใช้หัวฉีด จะไม่สามารถ แกะมาเพื่อซ่อมได้อีกต่อไป

---ตัวอย่าง---

สมัยก่อน ปั้มน้ำ เราสามารถแกะมาเปลี่ยนลูกปืน ซีล ได้
สมัยนี้ ทำไม่ได้ เพราะ อะไหล่ ข้างในก็ไม่มีผลิตออกมา ไม่มีขาย ต้องยกชุดทั้งลูกเลย และค่าแรงก็แพงกว่าสมัยก่อน

สมัยก่อนเราเรียกว่า unit repair สมัยนี้จะเรียกว่า unit replace

เราอย่ามองว่าเทคโนโลยีมันสูงขึ้นจนเราทำอะไรไม่ได้
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ความสำคัญมันอยู่ตรงที่การ วินิจฉัย อาการเพื่อไล่ไปหาสาเหตุของปัญหา

ช่าง แน่ใจกี่ % ว่าเปลี่ยนแล้วหาย

คุยไปคุยมา วกไปเรื่องที่


นร ช่างกล ทำไม ตีกัน??


อ้างถึงความเห็นของ
รศ.คุรุศาสตร์จุฬา (จำชื่อไม่ได้) ให้ความเห็นว่า
โรงเรียน อาชีวะ ขาดงบประมาณ ในการจัดซื้อวัศดุอุปกรณ์ในการเรียน
(นายประโยชน์เห็นด้วย 100% เลย)


สมุมติว่า ช่างเชื่อม จากเด็กที่ไม่เป็นอะไำรเลย มาจนถึงเชื่อมเป็นเลย
คุณจะใช้ลวดเชื่อมประมาณสัก 10 กล่อง กล่องนึง ร้อยกว่าบาท คูณร้อยคูณพันเข้าไป นี่แค่หนึ่งวิชาเท่านั้นนะ

-- ต้นตอมันเกิดจากการอัตคัตขาดแคลน ของโรงเรียนนี่แหละ
ซึ่งครั้งนึงนายประโยชย์ก็เป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนเอกชนแห่งนึง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพว่า
ภายใน 1 ห้องเรียนเนี่ย จะมี 1 เครื่องยนต์ที่ใช้ในการสอน ซึุ่งจะมีเด็กอยู่แค่ 4-5 คนเท่านั้นที่
จะสามารถเห็นเครื่องยนต์ หรือ สามารถรับสื่อการสอนจากครูได้จริงๆ จากทั้งห้องที่มีประมาณ 20-30 คน

มีกระทู้จาก pantip มาเล่าให้ฟัง
ถามว่า จะต้องจอดรถเอียงๆ แล้วไม่อยู่บ้าน ไม่ใช้รถหลายวัน จะทำให้รถเป็นอะไร มั้ย?

คำตอบจากนายประโยชน์  



ไม่ต้องเป็นห่วง จอดได้ไม่เป็นไร จะเอียงอย่างก็ช่าง (เอียงข้าง เอียงหัว-ท้าย)
และแนะนำว่า เมื่อเราจอนพื้นที่ลาดเอียง พวงมาลัย ไม่ควรตั้งตรง ควรจะตั้ง เลี้ยวไว้
เพราะเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย อย่างน้อย รถก็ไม่ไหล ลงเนิน หรือตกเขาไป

ความเชื่อผิดๆ ที่บอกว่า พวงมาลัยพาวเว่อร์ เมื่อเราจอดรถ แล้วเราตั้งพวงมาลัย ขวางไว้ และเมื่อเรากลับมาสตาร์ท จะทำให้ เพาเว่อร์เสีย
- ตัวกลไกของปั้มเพาเว่อร์ นั้น มีวาล์ววบคุมการทำงานของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง

ข้อแนะนำ เพิ่มเติม
เมื่อเวลาเราจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน ล้อรถในกรณีที่ยางแตกข้างทางนั้น
ถ้าเป้นไปได้เราควรเลี้ยวหัวรถ ให้หัน ไปบังตัวเรา ในขณะที่เรากำลังเปลี่ยนล้อ เผื่อในกรณีที่มีเหตุไม่คาดฝันเช่นรถที่ตามมาชน จะได้ชนกับตัวรถก่อนที่จะชนเรา
Share on Google Plus

About Surapong Suksang

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น: